Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

สร้างงานที่ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของลูกค้า ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด
Our Service and Product Evaporative Air Cooling Micro-Nice® D-5
  Micro-Nice® D-5 : เกี่ยวกับ Micro-Nice® D-5 | Download | ตัวอย่างการใช้งาน | FAQ
Micro-Nice® D-5 คืออะไร
  เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปน้ำยา ที่สกัดจากธรรมชาติ ใช้เพื่อ ป้องกัน การเกิดตะกรัน ในระบบน้ำหล่อเย็น โดยการทำให้สารละลายต่างๆ (TDS = Total Dissolved Solid) ที่อยู่ในน้ำไม่เกิดการรวมตัวกันอันจะนำไปสู่การเกิดเป็นผลึกของสารละลาย ที่จะไปเกาะติดกับพื้นผิวของระบบน้ำหล่อเย็น จนกลายเป็นตะกรันแข็งในที่สุด และจะทำการกำจัดตะกรันเก่า ที่สะสมอยู่ในระบบ ให้หลุดร่อนออกจากพื้นผิว และในท่อต่างๆของระบบ
ใช้ Micro-Nice® D-5 อย่างไร (โดยเฉพาะระบบที่ใช้สารเคมีอื่นๆอยู่)
  ในกรณีใช้สารเคมีอื่นใน การไปกัดตะกรันอยู่ ให้หยุดการใช้สารเคมีนั้น แล้วเริ่มใช้ Micro-Nice® D-5 ได้เลยไม่ต้องถ่ายน้ำทิ้งก่อนเริ่มใช้ Micro-Nice® D-5 โดยที่คำนวณจากปริมาณน้ำในระบบว่ามีจำนวนเท่าใด (คิดเป็นลูกบาศก์เมตร) ใช้ Micro-Nice® D-5 จำนวน 1/2 ลิตร ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ จำนวนน้ำทั้งหมด (ลูกบาศก์เมตร) คูณด้วย 1/2 จะได้ผลลัพธ์เป็นปริมาณลิตรของ Micro-Nice® D-5 ที่ใช้ สำหรับ Cooling Set นี้ ต่อเดือน (ใช้ Micro-Nice® D-5 1/2 ลิตร หรือ 500 ซีซี  ต่อ น้ำในระบบ 1 ลูกบาศก์เมตร)
การ เติม Micro-Nice® D-5 ลงในระบบน้ำหล่อเย็นจะทำอย่างไร
  เมื่อคำนวณปริมาณของ ได้แล้ว จะเติมได้ 2 แบบ คือ
1. เติมอาทิตย์ละ 1 ครั้ง โดยคิดจากปริมาณ Micro-Nice® D-5 ทั้งหมดที่จะใช้ ใน 1 เดือน หารด้วย 4 จะได้เป็นปริมาณ Micro-Nice® D-5 ที่เติมต่อสัปดาห์
2. เติมทุกวันโดยคิดจากปริมาณ Micro-Nice® D-5 ที่ใช้ ใน 1 เดือน หารด้วย 30 จะได้ปริมาณ Micro-Nice® D-5 ที่ เติมในแต่ละวัน
ข้อแนะนำ
วิธีเลือกเติม Micro-Nice® D-5 ว่าจะใช้แบบ ข้อ 1 หรือ ข้อ 2ให้พิจารณาจากปริมาณน้ำที่สูญเสียในแต่ละวันว่ามีการสูญเสียมากน้อยเพียงใด ถ้ามีการสูญเสียน้ำ เปรียบเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดในระบบเกิน 20 % แนะนำให้ใช้วิธีเติม D-5 แบบข้อ 2 คือเติมทุกวัน ถ้าสูญเสียน้ำในแต่ละวันไม่มากกว่า 20 % แนะนำให้เติม 1 ครั้งต่ออาทิตย์
เมื่อ เริ่มใช้ Micro-Nice® D-5 แล้ว จะต้องดูแลระบบ Cooling อย่างไร
  ในกรณี ระบบ น้ำหล่อเย็นเก่า
การใช้ Micro-Nice® D-5 จะพบว่าค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) และค่ารวมของสารละลายในระบบ (TDS = Total Dissolved Solid) จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องจากการทำงานของ Micro-Nice® D-5 ที่ไปล้างตะกรันเก่าที่เกาะสะสมติดอยู่กับพื้นผิวและตามท่อในระบบ ค่อย ๆ หลุดออกมาตลอดเวลา จึงทำให้ค่า Conductivity และ TDS สูงอย่างต่อเนื่อง จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่า ตะกรันเก่าที่สะสมอยู่ในระบบออกมาอยู่ในน้ำจนหมด
จะเห็นได้ว่าการตรวจวิเคราะห์น้ำโดยเฉพาะ Conductivity   และ TDS จะนำมาใช้แปลผลไม่เหมือนกับการใช้สารเคมีเดิมโดยที่วิธีเคมีเดิม ใช้ค่าทั้ง 2 ในการพิจารณาตัดสินว่า ควรจะถ่ายน้ำออกจากระบบทิ้ง (Blow Down/ Bleed Off) เมื่อใด แล้วเติมน้ำใหม่เข้าระบบเพื่อเจือจางค่าสารละลาย ให้เจือจางลง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดตะกรัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายในการถ่ายน้ำทิ้งและเติมน้ำใหม่ตลอดเวลา จะเป็นค่าใช้จ่าย ที่สูงมากและบางที่สูงกว่าค่าสารเคมีด้วย
แต่สำหรับการใช้ Micro-Nice® D-5 ค่าวิเคราะห์ทั้ง 2 แบบ  นำมาใช้ในการดูผลการทำงานของ Micro-Nice® D-5 ว่าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ การที่ Conductivity   และ TDS  สูงขึ้นมาบางครั้งเราอาจจะคิดว่าน้ำในระบบจะสกปรกมาก  จริงที่น้ำในระบบจะมีค่าสารละลายสูง  แต่เนื่องจากการทำงานของ Micro-Nice® D-5 ในคุณสมบัติการป้องกันการเกาะของสารละลายกับพื้นผิว คือการล้างเมือก (Scum / Bio-film) ที่เกิดบนพื้นผิว ทำให้พื้นผิวสะอาด ตลอดเวลา การเกาะติดของสารละลายซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การเกิดผลึก ของสารละลายจนกลายเป็นตะกรันแข็ง เป็นไปได้ยากอีกทั้ง Micro-Nice® D-5 ยังมีคุณสมบัติในการลดประจุไฟฟ้า(Anti-Static ) จึงทำให้ สารละลายทั้งหมด ( TDS )  เหล่านั้นไม่สามารถจับตัวกัน จนกลายเป็นตะกรันแข็งในที่สุด โดยรวมของ Micro-Nice® D-5 คือสามารถป้องกันการเกิดใหม่ของตะกรันได้ตลอดเวลา.

ในกรณี Cooling ที่ติดตั้งใหม่
สามารถใช้ Micro-Nice® D-5 ได้เลย เมื่อครบ 1 – 2 เดือนไม่จำเป็นต้องปิดระบบเพื่อล้างตะกรันที่สะสมอยู่ก่อน ควรใช้ Micro-Nice® D-5 เป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดตะกรันในระบบน้ำหล่อเย็นตลอดไป และจะทำให้การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพสมบูรณ์
เมื่อใช้ Micro-Nice® D-5 แล้วต้องตรวจวิเคราะห์น้ำเหมือนการใช้สารเคมีเดิมหรือไม่
      การใช้ Micro-Nice® D-5 จะพบว่าค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) และค่ารวมของสารละลายในระบบ (TDS = Total Dissolved Solid) จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องจากการทำงานของ Micro-Nice® D-5 ที่ไปล้างตะกรันเก่าที่เกาะสะสมติดอยู่กับพื้นผิวและตามท่อในระบบ ค่อย ๆ หลุดออกมาตลอดเวลา จึงทำให้ค่า Conductivity และ TDS สูงอย่างต่อเนื่อง จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่า ตะกรันเก่าที่สะสมอยู่ในระบบออกมาอยู่ในน้ำจนหมด
    จะเห็นได้ว่าการตรวจวิเคราะห์น้ำโดยเฉพาะ Conductivity   และ TDS จะนำมาใช้แปลผลไม่เหมือนกับการใช้สารเคมีเดิมโดยที่วิธีเคมีเดิม ใช้ค่าทั้ง 2 ในการพิจารณาตัดสินว่า ควรจะถ่ายน้ำออกจากระบบทิ้ง (Blow Down/ Bleed Off) เมื่อใด แล้วเติมน้ำใหม่เข้าระบบเพื่อเจือจางค่าสารละลาย ให้เจือจางลง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดตะกรัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายในการถ่ายน้ำทิ้งและเติมน้ำใหม่ตลอดเวลา จะเป็นค่าใช้จ่าย ที่สูงมากและบางที่สูงกว่าค่าสารเคมีด้วย
    แต่สำหรับการใช้ Micro-Nice® D-5 ค่าวิเคราะห์ทั้ง 2 แบบ นำมาใช้ในการดูผลการทำงานของ Micro-Nice® D-5 ว่าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ การที่ Conductivity และ TDS สูงขึ้นมาบางครั้งเราอาจจะคิดว่าน้ำในระบบจะสกปรกมาก แท้จริงที่น้ำในระบบจะมีค่าสารละลายสูง เกิดจากการทำงานของ Micro-Nice® D-5 ในคุณสมบัติการป้องกันการเกาะของสารละลายกับพื้นผิว คือการล้างเมือก (Scum / Bio-film) ที่เกิดบนพื้นผิว ทำให้พื้นผิวสะอาด ตลอดเวลา การเกาะติดของสารละลายซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การเกิดผลึก ของสารละลายจนกลายเป็นตะกรันแข็งเป็นไปได้ยาก อีกทั้ง Micro-Nice® D-5 ยังมีคุณสมบัติในการลดประจุไฟฟ้า ( Anti-Static ) จึงทำให้ สารละลายทั้งหมด (TDS) เหล่านั้นไม่สามารถจับตัวกันจนกลายเป็นตะกรันแข็งได้ โดยรวมของ Micro-Nice® D-5 คือสามารถป้องกันการเกิดใหม่ของตะกรันได้ตลอดเวลา  
ค่า Conductivity และ TDS จะสูงไปนานแค่ไหน เมื่อใช้ Micro-Nice® D-5
  ขึ้นอยู่กับระบบน้ำหล่อ เย็นว่าใช้งานมานานแค่ไหนหรือระบบใหญ่แค่ไหน ซึ่งถ้าใช้งานมานาน ค่า TDS และ Conductivity จะสูงอยู่นานหลายเดือน หรืออาจเป็นปี
จะจัดการอย่างไรกับสารละลาย TDS ที่สูง หรือเศษของตะกรัน ที่หลุดออกมาอยู่ในน้ำหล่อเย็น
  สำหรับระบบที่ใช้ Micro-Nice® D-5 เราแนะนำให้ติดตั้งระบบกรองน้ำอย่างง่าย ๆ เพื่อกรองเอาตะกอน สารละลาย และเศษตะกรัน ออกจากน้ำของระบบ วิธีนี้แนะนำให้ติดตั้งเครื่องกรองตรงส่วนที่เคยเป็นท่อถ่ายน้ำทิ้ง (Blow Down) เพื่อเอาน้ำที่เคย Blow Down ทิ้งแล้วผ่านการกรอง นำน้ำนี้กลับไปใช้ได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ เมื่อใช้ Micro-Nice® D-5 แล้วจะสามารถหยุดการถ่ายน้ำทิ้ง (Blow Down) เป็นการรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการประหยัดน้ำอย่างมาก
เมื่อ ค่า TDS และ Conductivity สูงจากการใช้ Micro-Nice® D-5 ทำให้เกิดการกัดกร่อนของท่อโลหะหรือไม่
  ในขบวนการกัดกร่อนของโลหะ ที่จะเกิดในระบบน้ำหล่อเย็นนั้น  คือการเกิดความต่าง ศักย์ของไฟฟ้าบนพื้นผิว ซึ่งปกติจะเกิดจากการจับตัวของสารละลายที่รวมตัวกันเป็น ตะกรัน เมื่อเกิดตะกรันที่จุด ๆ หนึ่ง ย่อมนำไปสู่การเกิดความต่างศักย์กับอีกจุดหนึ่ง บน พื้นผิวทำให้มีกระแสอิเล็คตรอน (e-) วิ่งที่พื้นผิว ซึ่งสาเหตุนี้จะก่อให้เกิดการกัดกร่อนได้
แต่เมื่อ Micro-Nice® D-5 ป้องกันไม่ให้มีการเกาะตัวของสารละลายบนพื้นผิว ดังนั้นในพื้นผิวโลหะของระบบ จะไม่เกิดความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า การไหลเวียนของ อิเล็คตรอน (e-) ย่อมไม่เกิด ดังนั้น Micro-Nice® D-5 จะไม่ก่อให้เกิดการกัดกร่อน แต่ดูเหมือนว่าป้องกันการกัดกร่อนด้วยซ้ำไป
Micro-Nice® D-5 ได้รับการทดสอบจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology Center) แล้ว ค่า Corrosive Rate จากรายงาน (ดูเอกสารแนบ) ซึ่งถือว่าผลค่อนข้างดีมาก หรือพูดได้ว่า Micro-Nice® D-5 ไม่ไปกัดกร่อนวัสดุที่อยู่ในระบบน้ำหล่อเย็นใดๆเลย
เมื่อ ใช้ Micro-Nice® D-5 แล้ว สารเคมีที่ใช้กำจัด เมือก สาหร่าย และเชื้อโรค ยังจำเป็นต้องใช้หรือไม่
  สำหรับเรื่องเมือก (Scum or Bio-film) โดยปรกติในน้ำจะมี สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์หรือพืช ที่เป็น เซลล์เดียว เช่น จุลินทรีย์ (micro-organism) หรือสาหร่าย(Algae) สิ่งมีชีวิตพวกนี้จะทำให้เกิด เมือก (Scum or Bio-film)  Micro-Nice® D-5 จะช่วยล้างทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด ทำให้โอกาสที่สิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ ( micro-organism ) หรือสาหร่าย (Algae) ที่ไม่สามารถเกาะอยู่กับพื้นผิวเพื่อการเจริญเติบโต เติบโตได้หรือทำให้เจริญเติบโตได้ช้าลงมาก ดังนั้นการใส่สารฆ่าตะไคร่จึงไม่จำเป็นต้องใส่ แต่หากต้องการใส่ก็สามารถใส่ได้ โดยไม่มีผลกับการทำงานของ  Micro-Nice® D-5
สำหรับส่วนที่มีสาหร่าย (Algae) อยู่ในระบบอยู่แล้ว  การล้างทำความสะอาดเมื่อใช้ Micro-Nice® D-5 ครบ 1 หรือ 2 เดือนผ่านไปตามคำแนะนำว่าควรปิดระบบเพื่อทำการล้างนั้น  ก็เท่ากับเป็นการกำจัด เซลล์สาหร่าย ที่มีอยู่ในระบบเก่าออกไปได้เกือบหมด น้ำจะสะอาดขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนการฆ่าเชื้อก็เช่นกัน จะใส่สารฆ่าเชื้อหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่ละที่ (เชื้อโรคที่สำคัญในระบบ Cooling คือ เชื้อ Legionella)  เชื้อโรคชนิดนี้จะโตได้ช้ามากเมื่อไม่สามารถเกาะติดกับพื้นผิวของระบบและไม่สามารถรวมตัวกันเป็น Bio-film ได้ อีกทั้งยังฆ่าได้ง่าย ในสภาพที่เชื้อแขวนลอยอยู่ในน้ำแต่หาก Cooling ที่มีกฎของบริษัทนั้น ๆ บังคับให้ใส่สารเคมีสำหรับฆ่าเชื้อ Legionella ก็สามารถใส่ได้ และจะไม่มีผลรบกวนการทำงานของ Micro-Nice® D-5
ในกรณี Cooling ใช้น้ำ Soft จะทำอย่างไร
  Micro-Nice® D-5 สามารถใช้กับน้ำได้ทุกชนิด ไม่จำเป็นต้องทำการ Soft ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก
Micro-Nice® D-5 สามารถทนอุณหภูมิสูงได้แค่ไหน
  อุณหภูมิในระบบน้ำหล่อ เย็นจะสูงไม่เกิน 100 OC ซึ่ง Micro-Nice® D-5 สามารถทนได้ (Micro-Nice® D-5 จะทำงานดี ยิ่งขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น)
ในกรณีที่ระบบ Cooling ใช้น้ำประปาอย่างเดียว ถ้ามาใช้ Micro-Nice® D-5 ย่อมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
  ในกรณีนี้ ลูกค้ากลุ่มนี้ จะมีการถ่ายน้ำบ่อยมากอาจทุก 1 – 2 สัปดาห์ ค่าน้ำเท่าใด หรือการเปลี่ยนอุปกรณ์ของ Cooling เช่น Filler บ่อยแค่ไหน.
เราจะทดสอบได้อย่างไรว่า Micro-Nice® D-5 ยังมีอยู่ในระบบ
  ปริมาณที่ใช้ Micro-Nice® D-5 น้อยมาก คือ 500 ppm. เท่ากับ 0.05 % ของน้ำในระบบ ต่อเดือน ซึ่งเครื่องมือที่จะใช้ทดสอบได้จะต้องมีความไวสูงมาก และราคาค่อนข้างแพง ดังนั้น จึงแนะนำให้คอยดูแลการเติม Micro-Nice® D-5 ลงในระบบอย่างสม่ำเสมอ เช่น เติมทุกสัปดาห์ หรือทุกวันตามคำแนะนำ เพราะ Micro-Nice® D-5 จะไม่สูญหายไปเนื่องจากอายุของมัน
Micro-Nice® D-5 เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
  เนื่องจาก Micro-Nice® D-5 เมื่ออยู่ในธรรมชาติที่มีจุลินทรีย์ที่พอเหมาะ จะถูกย่อยสลาย ประมาณ 90 % (ดูเอกสารแนบ) ดังนั้น น้ำที่มีอยู่เมื่อมีการปิดระบบเพื่อทำการล้าง (ซึ่งในการปิดล้างนี้ไม่จำเป็นต้องนำเอาเคมีชนิดใดๆมาก เป็นตัวช่วยล้างก็ไม่จำเป็นต้องบำบัดน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำทิ้งสู่สาธารณะ เหมือนการใช้เคมีทั่วไป
 
 
 
COPYRIGHT© sotechengineering.com ALL RIGHTS RESERVED Home | About Us | Our Servicce and Product | Reference Project | Jobs | Contact Us